Problems & Answers
ข้อมูลต่อไปนี้คือรูปคำกริยาในภาษาเตลูกูคลาสสิกและความหมายในภาษาไทย อรสุนนาเป็นเครื่องหมายในภาษาเตลูกูคลาสสิก ซึ่งไม่ออกเสียงแต่แสดงการออกเสียงขึ้นจมูกของสระตัวก่อนหน้า ผู้พูดเจ้าของภาษามักสับสนว่าเครื่องหมายนี้ควรอยู่ที่ตำแหน่งใด สำหรับโจทย์ข้อนี้ อรสุนนาจะเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย ~ บนสระ และ X หมายถึงกริยานั้น ๆ สามารถใช้ได้กับประธานใด ๆ
1. |
koṭṭucunnā̃ḍu |
เขากำลังตี |
2. |
teliyãjēyucunnāmā |
พวกเรากำลังทำให้ (มัน) เป็นที่รู้จักใช่ไหม ? |
3. |
cēsināvu |
คุณทำแล้ว |
4. |
koṭṭināru |
พวกคุณตี (มัน) แล้ว |
5. |
nākavalayunu |
X ต้องเลีย |
6. |
aṇãgināru |
พวกคุณถูกกดขี่แล้ว |
7. |
rāvalayunu |
X ต้องมา |
8. |
kūḍarādu |
X อาจไม่พบ |
9. |
teliyu |
เป็นที่รู้จัก |
10. |
vaccucunnānu |
ฉันกำลังมา |
11. |
cā̃pãgalanā |
ฉันสามารถดึง (มัน) ได้ใช่ไหม ? |
12. |
vā̃gãgaladu |
มันสามารถส่งเสียงได้ |
13. |
nākãgūḍadu |
X ไม่ควรเลีย (มัน) |
14. |
rā̃ju |
ไหม้ |
(a) เติมเครื่องหมายแสดงเสียงสระนาสิก (ซึ่งมีทั้งหมด 5 ตำแหน่ง) ลงในรูปคำกริยาต่อไปนี้ :
15. |
valasināmu |
พวกเราเป็นที่ต้องการแล้ว |
16. |
rājaniccinānu |
ฉันปล่อยให้ (มัน) ไหม้แล้ว |
17. |
vāyiñcucunnavi |
พวกมันกำลังทำให้ (มัน) ส่งเสียง |
18. |
rāgalaḍu |
เขาสามารถมาได้ |
19. |
aṇagavalayunā |
X ต้องถูกกดขี่ใช่ไหม ? |
20. |
tākavaccunu |
X อาจแตะ (มัน) |
21. |
maṟalu |
หันกลับ |
15. valasināmu
16. rājaniccinānu
17. vāyiñcucunnavi
18. rāgalaḍu
19. aṇagavalayunā
20. tākavaccunu
21. maṟalu
(b) เติมเครื่องหมายแสดงเสียงสระนาสิกและแปลเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ มีรูปคำกริยาหนึ่งที่มีคำแปลสองแบบ แสดงคำแปลทั้งสองแบบนั้น
22. cāpinadi
23. iccucunnāḍu
24. vāgavaccunā
25. cēyagalavu
(c) แปลเป็นภาษาเตลูกูและเติมอรสุนนา :
26. X ไม่ควรเป็นที่ต้องการ
27. เขากำลังปล่อยให้ (มัน) มาใช่ไหม ?
28. พวกคุณกำลังส่งเสียง
29. มันให้แล้ว
(!) ภาษาเตลูกูเป็นภาษาที่มีผู้พูดประมาณ 100 ล้านคน ผู้พูดส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐอานธรประเทศและเตลังคานา ประเทศอินเดีย ภาษาเตลูกูคลาสสิกหรือครันถิกภาษา เป็นรูปเขียนของภาษาเตลูกูในช่วงคริสตศวรรษที่ 11 ถึง 20 เครื่องหมายขีดบนเสียงสระ เช่น ā แสดงสระเสียงยาว และจุดใต้พยัญชนะ เช่น ṭ แสดงการออกเสียงม้วนลิ้น ṟ ออกเสียงคล้าย ร ในคำว่า รัก c ออกเสียงคล้าย ช ในคำว่า ช้าง และ ñ ออกเสียงคล้าย น ในคำว่า เนี่ย
— ธีรัช โปตาประคฑะ
นางเฉิน ผู้พูดภาษาทซัต กำลังจัดเตรียมงานแต่งงานสำหรับลูกสาว โดยในการจัดเลี้ยงอาหาร เธอจะต้องจัดเตรียมอาหารและทำเมนูขึ้นชื่อที่เรียกว่า sai³³ ɲa²⁴ ʔu³³ เธอจึงได้ไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ มาจากตลาด ข้อมูลต่อไปนี้คือรายการวัตถุดิบที่เธอต้องซื้อเป็นภาษาทซัตเขียนไว้ด้านซ้ายมือ และคำแปลภาษาไทยด้านขวามือ เรียงลำดับแบบสุ่ม
1. |
ɲa24 ta24 |
2. |
ʔia33 ni33 |
3. |
na:ŋ33 |
4. |
ʔia33 ta24 |
5. |
phia11 ti55 |
6. |
sa33 phai11 |
7. |
pa:iʔ32 ti55 |
8. |
ʔia33 phia11 |
9. |
ʔianʔ32 ɲa24 |
10. |
pa:iʔ32 phai11 |
11. |
ʔianʔ32 ta24 |
12. |
sai33 |
13. |
ɲa24 mo33 |
A. |
ไป๋จิ่ว |
B. |
เนย |
C. |
ข้าวขาว |
D. |
ข้าวหุงสุก |
E. |
มันเทศตากแห้ง |
F. |
น้ำผึ้ง |
G. |
ผักกาดก้านขาว |
H. |
นมถั่วเหลือง |
I. |
น้ำมันถั่วเหลือง |
J. |
ถั่วเหลืองงอก |
K. |
น้ำที่ได้จากการหุงข้าว |
L. |
หมาก |
M. |
เหล้ามันเทศ |
(a) จับคู่ข้อความกับคำแปลที่ถูกต้อง
1. ɲa²⁴ ta²⁴
2. ʔia³³ ni³³
3. na:ŋ³³
4. ʔia³³ ta²⁴
5. phia¹¹ ti⁵⁵
6. sa³³ phai¹¹
7. pa:iʔ³² ti⁵⁵
8. ʔia³³ phia¹¹
9. ʔianʔ³² ɲa²⁴
10. pa:iʔ³² phai¹¹
11. ʔianʔ³² ta²⁴
12. sai³³
13. ɲa²⁴ mo³³
(b) กำหนดให้ tha:n¹¹ หมายถึงน้ำตาล แปลคำในภาษาทซัตต่อไปนี้เป็นภาษาไทย :
14. ta²⁴
15. pa:iʔ³²
16. tha:n¹¹ ti⁵⁵
17. ɲa²⁴ ʔianʔ³²
(c) วัตถุดิบหนึ่งที่ใช้ในการทำ sai³³ ɲa²⁴ ʔu³³ คือมะพร้าว จากข้อมูลข้างต้น แปลชื่อเมนูดังกล่าวเป็นภาษาไทยแบบตรงตัว
(!) ภาษาทซัตอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีผู้พูดประมาณ 4500 คนในเมืองซานย่า มณฑลไหหลำ ประเทศจีน ph, th, ʔ, ɲ เป็นเสียงพยัญชนะ : แสดงเสียงสระยาว และ ⁵⁵, ³³, ¹¹, ²⁴, ³² แสดงเสียงวรรณยุกต์
ไป๋จิ่ว มาจากคำในภาษาจีนหมายถึง "เหล้าขาว" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีใส หมาก จะรับประทานกันในงานแต่งงานแบบดั้งเดิม และมักนำมาเคี้ยวเปล่า ๆ ผักกาดก้านขาว เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มักนำมาใช้สกัดน้ำมัน
— ทอกเส่ง เฮนรี หว่อง
ข้อมูลต่อไปนี้คือประโยคในภาษามะดีและคำแปลภาษาไทย คำที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายดอกจันคือคำที่เน้น
- ebi kɔtʃa sukuru ga
ปลามาถึงโรงเรียน - ɔpɨ ʔa mva ɔɗɨ ma nɨ
เด็กของหัวหน้าต้มมันให้ฉันแล้ว - ka ɓɔŋgʊ li lʌpwoɲi nɨ aʊ
เขาตัด*ชุดกระโปรง*ให้ครู - ma mu sukuru ga
ฉันไปโรงเรียน / ฉันไปโรงเรียนแล้ว - ka mva ʔa dʒɔ si kɨ ama nɨ aʊ
พวกเขาสร้าง*บ้านของเด็ก*ให้พวกเรา - lʌpwoɲi koliʌ aʊ
ครูตัด*มัน* - ma dʒɨa
ฉันนำมัน - ti komu ma ʔa eɓu ga
วัวไปที่ทำงานของฉัน - ʌndzi ɔʧɨ kɨ basɨ sɨ
เด็กหลายคนกัดมันในรถบัสแล้ว - ama tʊ latʊ
พวกเราเต้นแล้ว - ti ɔtʊ ama
วัวเหยียบพวกเราแล้ว - mva ɔŋga dʒuɓʌ ga sɨ
เด็กออกจากจูบาแล้ว - agɔ ka ebi ndrɛ kɨ
ผู้ชายหลายคนเห็นปลา - ɔdʒɨ ma dʒuɓʌ ga
เขานำฉันไปจูบาแล้ว
(a) แปลเป็นภาษาไทย :
15. tii ɔʧɨ kɨ ɓɔŋgʊ
16. ama ndrɛ aʊ
17. mva ɔɗɨ ebi ɔpɨ nɨ
18. agɔ ka latʊ tʊ sukuru sɨ
(b) แปลเป็นภาษามะดี :
19. พวกเขาเห็นท่าเต้นของพวกเราแล้ว
20. เขาออกจากบ้าน
21. ผู้ชายสร้าง*โรงเรียน*
22. ฉันตัดปลาแล้ว
(!) ภาษามะดีอยู่ในตระกูลภาษาซูดานกลาง มีผู้พูดในประเทศซูดานใต้และยูกันดา tʃ, dʒ, ʔ, ɲ, ɗ และ ɓ เป็นเสียงพยัญชนะ a, ɛ, ɨ, ɔ และ ʊ เป็นเสียงสระที่คล้ายกับ ʌ, e, i, o และ u ตามลำดับ แต่ออกเสียงโดยเคลื่อนลิ้นไปด้านหลัง แท้จริงแล้วภาษามะดีมีเสียงวรรณยุกต์ แต่ในโจทย์ไม่ได้กำกับไว้เพื่อให้ง่ายต่อการแก้โจทย์
จูบา เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศซูดานใต้
— ธีรัช โปตาประคฑะ
ข้อมูลต่อไปนี้คือคำในภาษาสวาฮีลีที่เขียนด้วยอักขรวิธีที่ไม่ใช่อักขรวิธีมาตรฐาน :
alfadjyry, azubuhy, dakyka, djyony, kazoro, kumy, mbyly, mcana, modja, na, nane, nne, nusu, robo, tano, tatu, tyza, uzyku, yxyryny, zaa, zaba, zyta
การประสมกันของคำข้างต้นบางรูปแบบสามารถใช้บอกเวลาได้ในระดับนาที
ฟอร์มด้านล่างนี้สามารถใช้ในการตรวจสอบว่า การประสมกันของคำข้างต้นนั้น เป็นคำบอกเวลาที่ถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้อง ฟอร์มจะแสดงเวลาดังกล่าว ท่านสามารถแทนตำแหน่งคำบางคำด้วยเครื่องหมายดอกจันโดยจะต้องเว้นวรรคระหว่างคำ ทั้งนี้ ท่านสามารถใช้เครื่องหมายดอกจันได้มากกว่าหนึ่งครั้ง (เช่น * alfadjyry azubuhy *) แต่ไม่สามารถวางเครื่องหมายดอกจันไว้ติดกันได้ (เช่น alfadjyry * * azubuhy ไม่สามารถใช้ได้) ในกรณีที่ใช้เครื่องหมายดอกจัน ฟอร์มจะแสดงว่า มีคำหรือกลุ่มคำที่สามารถเติมในตำแหน่งดังกล่าว (ซึ่งอาจไม่ใช่คำเดียวกันในแต่ละตำแหน่งของเครื่องหมายดอกจัน) และกลายเป็นคำบอกเวลาที่ถูกต้องได้หรือไม่
(a) แปลคำที่กำหนดให้ข้างต้นทั้งหมดเป็นภาษาไทย
1. alfadjyry
2. azubuhy
3. dakyka
4. djyony
5. kazoro
6. kumy
7. mbyly
8. mcana
9. modja
10. na
11. nane
12. nne
13. nusu
14. robo
15. tano
16. tatu
17. tyza
18. uzyku
19. yxyryny
20. zaa
21. zaba
22. zyta
(b) มีคำในภาษาสวาฮีลีอีกหนึ่งคำนอกเหนือจากคำที่กำหนดให้ สามารถค้นได้จากฟอร์มข้างต้น เขียนคำดังกล่าวเป็นภาษาสวาฮีลี
(!) ภาษาสวาฮีลีอยู่ในตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก มีผู้พูดประมาณ 100 ล้านคนในแอฟริกาตะวันออก
— ทามิลา กราชทาน
The contest is over.
Answer key: hideshow